แหล่งโบราณสถาน
กู่วัดธาตุพันขัน ตั้งอยู่วัดธาตุบ้านตาเณร เป็นปราสาทก่อด้วยอิฐสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ตั้งอยู่บนฐานสูงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว อีกสามด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก ชั้นหลังคาหักลงมาเหลือเพียงสองชั้น ส่วนประกอบที่ใช้ตกแต่งตัวอาคารสูญหายไปเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงชิ้นส่วนของประติมากรรมเพียงไม่กี่ชิ้น และวงกบประตูที่แสดงถึงเทคนิคการเข้าวงกบแบบมีบ่า มีอายุไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 15 กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เคยเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานแห่งนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 วังขุมเงิน บ้านหนองคูณ ตำบลเด่นราษฎร์ กิ่งอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเนินดินมีบริเวณพื้นที่ไม่มากนัก ด้านนอกจะพบหินวางเรียงเป็นก้อนโดยรอบคล้ายกำแพงแก้ว หินส่วนใหญ่จะถูกดินทับถมเอาไว้ จากการขุดค้นของสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด มีต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นปกคลุมอยู่ ตรงกลางเนินแห่งนี้ จะมีปราสาทหินทรายแดงโผล่พ้นพื้นดินขึ้นมาบางส่วน ลักษณะการก่อสร้างใช้หินทรายแดงตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมวางทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ ผลจากการศึกษาขุดค้นของนักโบราณคดีทำให้ทราบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องของชุมชนแห่งนี้ หลักฐานชิ้นสำคัญคือ แท่นศิวลึงค์ที่ทำจากหินทรายสีเขียว ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว1 เมตร จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต สร้างในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าจิตรเสน แท่นดังกล่าวนี้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีอายุเก่าแก่กว่าปราสาทนครวัดนครธม ถึง 500 ปี เนินขันหมากบ้านหญ้าหน่อง เป็นที่ตั้งของฐานรูปเคารพ ซึ่งเป็นฐานหินที่รองรับศิวลึงค์ของพระอิศวร ตามลัทธิศาสนาฮินดู (พราหมณ์) เป็นโบราณวัตถุคู่กับเมืองจำปาขัน สาเหตุที่ชาวบ้านเรียกว่า เนินขันหมาก เพราะฐานที่ตั้งรูปเคารพนั้น มีลักษณะเป็นเหลี่ยมชั้นคล้ายเชี่ยนหมากของคนสมัยก่อนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ผลจากการศึกษาขุดค้นของนักโบราณคดีทำให้ทราบถึงการใช้ประโยชน์ของชุมชนโบราณที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ประกอบพิธีในทางพระพุทธศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น