วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สื่อวีดีทัศน์บ่อพันขัน


แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมบ่อพันขัน




เกี่ยวกับผู้จัดทำ

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ-สกุล                  นางสาวธิดานันท์                  ทองดี
รหัสประจำตัว        18723
วัน   เดือน   ปีเกิด  31    มีนาคม   2538
สถานที่เกิด            อำเภอสุวรรณภูมิ   จังหวัดร้อยเอ็ด
สถานที่ติดต่อ        บ้านโนนม่วง    บ้านเลขที่   28/1  หมู่  9  ตำบลห้วยหินลาด   อำเภอสุวรรณภูมิ    จังหวัดร้อยเอ็ด
ระดับการศึกษา                    พ.ศ.ที่จบการศึกษา               วุฒิการศึกษา                        สถาบันการศึกษาที่จบ
ประถมศึกษา                         2550                                       ประถมศึกษาปีที่ 6                                โรงเรียนจตุคามวิทยา
มัธยมศึกษาตอนต้น              2553                                       มัธยมศึกษาปีที่  3                 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
มัธยมศึกษาตอนปลาย        2556                                       มัธยมศึกษาปีที่  6                 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
ผลงานทางวิชาการ               คณะกรรมการนักเรียนฝ่ายบุคคลโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล  ปีการศึกษา  2555




ชื่อ-สกุล                  นางสาวนนทิยาภรณ์            เสาใบ
รหัสประจำตัว        18725
วัน  เดือน  ปีเกิด    5  กันยายน   2537
สถานที่เกิด            โรงพยาบาลยโสธร   จังหวัดยโสธร
สถานที่ติดต่อ        บ้านค้อ   บ้านเลขที่  121   หมู่  6  ตำบลช้างเผือก    อำเภอสุวรรณภูมิ   จังหวัดร้อยเอ็ด
ระดับการศึกษา                    พ.ศ.ที่จบการศึกษา               วุฒิการศึกษา                        สถาบันการศึกษาที่จบ
ประถมศึกษา                         2550                                       ประถมศึกษาปีที่ 6                                โรงเรียนบ้านค้อ-โนนสว่าง
มัธยมศึกษาตอนต้น              2553                                       มัธยมศึกษาปีที่  3                 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
มัธยมศึกษาตอนปลาย        2556                                       มัธยมศึกษาปีที่  6                 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
ผลงานทางวิชาการ               คณะกรรมการนักเรียนฝ่ายบุคคลโรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล  ปีการศึกษา  2555







ชื่อ-สกุล                  นางสาวอารียา       พรมจารีย์
รหัสประจำตัว        18747
วัน  เดือน  ปีเกิด    17  กรกฎาคม   2537
สถานที่เกิด            โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ   จังหวัดร้อยเอ็ด
สถานที่ติดต่อ        บ้านโพนดวน         บ้านเลขที่  218   หมู่  8  ตำบลหินกอง    อำเภอสุวรรณภูมิ   จังหวัดร้อยเอ็ด
ระดับการศึกษา                    พ.ศ.ที่จบการศึกษา               วุฒิการศึกษา                        สถาบันการศึกษาที่จบ
ประถมศึกษา                         2550                                       ประถมศึกษาปีที่ 6                                โรงเรียนบ้านโพนดวน
มัธยมศึกษาตอนต้น              2553                                       มัธยมศึกษาปีที่  3                 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
มัธยมศึกษาตอนปลาย        2556                                       มัธยมศึกษาปีที่  6                 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล









ชื่อ-สกุล                  นางสาวมาตารักษ์                                คำสอง
รหัสประจำตัว        18949
วัน  เดือน  ปีเกิด    1  มกราคม   2538
สถานที่เกิด            โรงพยาบาลสุรินทร์    จังหวัดสุรินทร์
สถานที่ติดต่อ        บ้านหนองงอม       บ้านเลขที่  82   หมู่  2  ตำบลหัวช้าง    อำเภอสุวรรณภูมิ   จังหวัดร้อยเอ็ด
ระดับการศึกษา                    พ.ศ.ที่จบการศึกษา               วุฒิการศึกษา                        สถาบันการศึกษาที่จบ
ประถมศึกษา                         2550                                       ประถมศึกษาปีที่ 6                                โรงเรียนเมืองใหม่สุวรรณภูมิ
มัธยมศึกษาตอนต้น              2553                                       มัธยมศึกษาปีที่  3                 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล
มัธยมศึกษาตอนปลาย        2556                                       มัธยมศึกษาปีที่  6                 โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล


วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถานที่น่าสนใจ



















ศาลเจ้าปู่ผ่านเจ้าพ่อบ่อพันขัน

  ตั้งอยู่บนเนินดิน เป็นศาลของเทพเจ้าที่ให้ความคุ้มครองปกป้องชาวบ้านในแถบนี้ โดยเชื่อกันว่าเจ้าปู่ผ่านนั้นเป็นคนโบราณสมัยมนุษย์แปดศอก ซึ่งเมื่อเจ้าปู่ผ่านเสียชีวิตแล้ว ดวงวิญญาณของท่านได้สถิตอยู่ ณ ดินแดนแห่งนี้ เพื่อคุ้มครองปกป้องลูกหลานรุ่นต่อๆมา ชาวบ้านจึงให้ความเคารพบูชา มาสักการะเพื่อขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา










แก่นขามพันปี
  เป็นแก่นของต้นมะขามที่ตายแล้ว เปลือกนอกย่อยสลายไปตามกาลเวลาเหลือเพียงแก่นตรงกลาง อยู่บนเนินดินสูง ล้อมรอบด้วยต้นมะขามที่ขึ้นอยู่จำนวนมาก แก่นขามนี้เดิมนั้นล้มอยู่กับพื้นดินหลายชั่วอายุคนกี่ร้อย กี่พันปีก็ไม่มีใครทราบ  แต่แปลกที่ปลวกไม่เคยกัดกินแก่นข้ามนี้เลย  ยังคงเป็นท่อนไม้อยู่ตามเดิม  ชาวบ้านจึงได้อนุรักษ์โดยให้ช่างแกะสลักแก่นขามเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ แล้วนำมาตั้งประดิษฐานไว้ให้ผู้ทีไปเยือนได้สักการะบูชา









เกาะบ่อพันขันรัตนโสภณ

            ตั้งอยู่ในเขตวัดเกาะบ่อพันขันรัตนโสภณ อำเภอหนองฮี เป็นอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ 50 ปี และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสหัสขันธมหามุนีนาถซึ่งมีความสวยงามเป็นที่เคารพบูชาของชาวร้อยเอ็ดการเดินทาง ตามเส้นทางร้อยเอ็ด-พนมไพร กิ่งอำเภอหนองฮี สู่ตำบลเด่นราษฎร์ ห่างจากเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 85 กิโลเมตร





     

  บ่อพันขัน

บ่อพันขัน ตรงนั้น มีตำนาน      แต่โบราณ เรียกว่า จำปาขัน
เป็นเมืองเก่า เล่าลือ ระบือกัน             จำปาขัน ได้ข่าว ลูกสาวมี
ชื่อคำแพง แต่งเห็น เป็นพี่เลี้ยง         รูปเกลาเกลี้ยง นามธิดา ว่าแสนสี
เคยฟังดู รู้ชัด ประวัติมี                     สาวแสนสี สาวคำแพง แห่งจำปา
นางนั่งเรือ เล่นน้ำ ตามทะเล               ต้องเสน่ห์ ท้าวอุธร นอนผวา
ฮาดคำโปง ชื่อนี้ มีมนต์ตรา               ต้องเข่นฆ่า รักเกี้ยว สาวเดียวกัน
ทางเจ้าเมือง ทราบเรื่อง จึงออกปาก   เรียกฝูงนาค มาหา จำปาขัน
เจาะบาดาล พ่นพิษ ฤทธิ์อัศจรรย์           พิษนาคนั้น กระจายเต็ม เค็มเหมือนเกลือ
ปูปลาหอย พลอยตาย ไม่วายนับ         กลิ่นเหม็นอับ ทั่วไป ทั้งใต้เหนือ
นกอินทรี สองผัวเมีย อิ่มเหลือเฟือ       กินจนเบื่อ อยากกินเนื้อ มนุษย์จัง
พระพุทธองค์ ทรงสั่ง โมคคัลลาน์       ขอให้มา ปราบกุสุมา ใจโอหัง
ไล่เข้าถ้ำ จีวรปิด ใช้ฤทธิ์บัง               ชี้นิ้วสั่ง บ่อครกหิน น้ำกินมี





แหล่งโบราณสถาน


แหล่งโบราณสถาน
                     

           กู่วัดธาตุพันขัน   ตั้งอยู่วัดธาตุบ้านตาเณร  เป็นปราสาทก่อด้วยอิฐสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม ตั้งอยู่บนฐานสูงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก   มีทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว  อีกสามด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก ชั้นหลังคาหักลงมาเหลือเพียงสองชั้น ส่วนประกอบที่ใช้ตกแต่งตัวอาคารสูญหายไปเกือบทั้งหมด  คงเหลือเพียงชิ้นส่วนของประติมากรรมเพียงไม่กี่ชิ้น  และวงกบประตูที่แสดงถึงเทคนิคการเข้าวงกบแบบมีบ่า   มีอายุไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 15 กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์   เคยเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถานแห่งนี้เมื่อวันที่  12  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2546 วังขุมเงิน   บ้านหนองคูณ ตำบลเด่นราษฎร์  กิ่งอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเนินดินมีบริเวณพื้นที่ไม่มากนัก ด้านนอกจะพบหินวางเรียงเป็นก้อนโดยรอบคล้ายกำแพงแก้ว หินส่วนใหญ่จะถูกดินทับถมเอาไว้  จากการขุดค้นของสำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด มีต้นไม้นานาพันธุ์ขึ้นปกคลุมอยู่ ตรงกลางเนินแห่งนี้ จะมีปราสาทหินทรายแดงโผล่พ้นพื้นดินขึ้นมาบางส่วน   ลักษณะการก่อสร้างใช้หินทรายแดงตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมวางทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ    ผลจากการศึกษาขุดค้นของนักโบราณคดีทำให้ทราบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องของชุมชนแห่งนี้ หลักฐานชิ้นสำคัญคือ แท่นศิวลึงค์ที่ทำจากหินทรายสีเขียว ขนาดกว้าง 1 เมตร  ยาว1 เมตร   จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต สร้างในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าจิตรเสน แท่นดังกล่าวนี้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีอายุเก่าแก่กว่าปราสาทนครวัดนครธม ถึง 500 ปี เนินขันหมากบ้านหญ้าหน่อง   เป็นที่ตั้งของฐานรูปเคารพ  ซึ่งเป็นฐานหินที่รองรับศิวลึงค์ของพระอิศวร  ตามลัทธิศาสนาฮินดู (พราหมณ์)  เป็นโบราณวัตถุคู่กับเมืองจำปาขัน   สาเหตุที่ชาวบ้านเรียกว่า เนินขันหมาก  เพราะฐานที่ตั้งรูปเคารพนั้น มีลักษณะเป็นเหลี่ยมชั้นคล้ายเชี่ยนหมากของคนสมัยก่อนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16   ผลจากการศึกษาขุดค้นของนักโบราณคดีทำให้ทราบถึงการใช้ประโยชน์ของชุมชนโบราณที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ประกอบพิธีในทางพระพุทธศาสนา








มุมมองแหล่งโบราณสถาน พระธาตุบ่อพันขัน


มุมมองแหล่งโบราณสถาน พระธาตุบ่อพันขัน

             
 พื้นที่บ่อพันขันมีแหล่งโบราณคดี และโบราณสถานอยู่หลายแห่งกระจายเรียงกันอย่างมีระเบียบ ดังนี้ วัดเกาะบ่อพันขันรัตนโสภณ  บ่อน้ำพันขัน  ศาลเจ้าพ่อบ่อพันขัน ปราสาทหินทรายพระธาตุพันขัน  เนินขันหมาก  และรอยพระบาท พื้นที่ดังกล่าวยังเชื่อมโยงไปสู่ กู่คันธนาม อำเภอโพนทราย พระธาตุพันขัน  กู่พระโกนา  กู่กาสิงห์   กู่บ้านเมืองบัว  และกู่สันตรัตน์ นครจำปาศรี จังหวัดมหาสารคาม
แหล่งโบราณคดี ดังกล่าวได้รับการขุดแต่งแล้ว มีผลดังนี้
บ่อพันขันมองได้  2  ลักษณะ ที่สำคัญ คือ
     1.  บ่อพันขันต้นตำนานประวัติศาสตร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า (น้ำสร่างครก) เป็นบ่อน้ำเล็กๆ มีสภาพเป็นบ่อหินที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติตั้งแต่สมัยโบราณขนาดของบ่อ  กว้าง 10  นิ้ว  ลึก  12  นิ้ว   มีน้ำจืดผุดขึ้นในท่ามกลางพื้นดินที่เป็นดินเค็ม น้ำที่ผุดขึ้นมาจะไม่ขาดสาย  จะตักเป็นพันขัน  แสนขันหรือตักมากเท่าไรน้ำในบ่อนี้ก็ไม่มีวันหมด เนื่องจากบริเวณนี้เป็นแหล่งดินเค็ม  ชาวบ้านที่อพยพเข้ามาต้มเกลือ ต่างก็อาศัยน้ำจืดจากบ่อพันขัน ใช้อุปโภคบริโภค เพราะว่าไม่มีแหล่งน้ำจืดที่ได้อีกในท่ามกลางแหล่งดินเกลือแห่งนี้   ต่อมาทางราชการได้สร้างฝายกั้นน้ำจึงทำให้บ่อพันขันถูกน้ำท่วม   จนถึงปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้นสภาพบ่อพันขันกลับคืนมา
2.  บ่อพันขัน   เป็น อ่างเก็บน้ำบ่อพันขัน ตั้งอยู่กึ่งกลางของรอยต่อทั้งสามอำเภอ มีเนื้อที่กว่า700 ไร่ บริเวณอ่างน้ำมีเกาะและสันดอนมีน้ำล้อมรอบ   เกิดจากการสร้างฝายกั้นน้ำ ปัจจุบันเป็นแหล่งหาอาหารของชุมชน  มีการเลี้ยงปลาในกระชัง ด้านฝั่งบ้านตาเณร ตำบลจำปาขัน อำเภอสุวรรณภูมิ ใช้น้ำบ่อพันขันเพื่อการประปาหมู่บ้าน   นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดแข่งขันเรือยาวประจำปีชิงถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ของชาวตำบลเด่นราษฎร์และตำบลจำปาขัน และบริเวณรอบๆ ชาวบ้านยังได้จัดทำสวนเกษตรแบบพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ  โดยปลูกพืชผักปลอดสารพิษชนิดต่างๆ ทั้ง  ผักกาด  พริก  มะเขือ และถั่วฝักยาว  เพื่อเอาไว้กินที่เหลือก็ขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง

ประวัติบ่อพันขัน


ประวัติบ่อพันขัน


  ได้กล่าวเบื้องต้นแล้วว่าบ่อพันขันเป็นนามเล่าขานของพื้นที่และเป็นแหล่งโบราณสถานที่คนทั้งหลายรู้ในนามแหล่งเกลือโบราณในสมัยอดีต ตั้งอยู่รอยต่อของสามอำเภอ คือ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย และ กิ่งอำเภอหนองฮี  จังหวัดร้อยเอ็ด    แต่พื้นที่การใช้ประโยชน์ส่วนมากจะอยู่ที่ บ้านม่วงหวาน หมู่ที่ 12  ตำบลเด่นราษฎร์  กิ่งอำเภอหนองฮี และตำบลจำปาขัน  อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  ที่ราบลุ่มโดยรอบวัดเหนืออ่างเก็บน้ำขึ้นไปเป็นที่สาธารณะประโยชน์  โดยชาวบ้านอาศัยทำนาข้าวและบางส่วนก็เป็นป่าเบญจพรรณ เป็นเนินดินที่เป็นแหล่งโบราณคดี ปรากฏร่องรอยทางวัฒนธรรมเหลืออยู่ ก่อนปี 2524   ชุมชนในละแวกนี้ได้ใช้พื้นที่ในการทำอุตสาหกรรมเกลืออย่างเป็นล่ำเป็นสัน  และเชื่อกันว่าเกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่มีคุณภาพดี  โดยเฉพาะเกลือผง ผลิตแทบไม่ทันความต้องการของผู้บริโภค เพราะเชื่อว่ามีวิตามิน ซึ่งสตรีที่คลอดบุตรใหม่นิยมทานกันเพื่อสุขภาพด้วย โดยที่พื้นที่บริเวณบ่อพันขันสมบูรณ์ด้วยเกลือ จึงเป็นเสน่ห์ดึงดูดผู้คนจากถิ่นอื่นๆ เดินทางเข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นการทำเกลือ เป็นเหตุให้มีประชากรเผ่าพันธุ์ต่างๆ หนาแน่นกว่าเดิม   ในจำนวนนี้มีผู้พูดภาษาตระกูลไทย-ลาวจำนวนหนึ่ง  ซึ่งน่าเชื่อว่าน่าจะอพยพมาจากแดนตะวันออก  ซึ่งน่าจะมาจากลาวเวียงจันทร์ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับเจ้าแก้วมงคล ผู้นำไพร่พลมาสร้างเมืองทุ่ง อำเภอสุวรรณภูมิ  นอกจากนี้ยังปรากฏมีกลุ่มชนที่พูดภาษาส่วย  เขมร  ซึ่งพบที่บ้านสว่างใกล้บ่อพันขัน  บ้านหนองคูณอีกด้วย            การเข้ามาอยู่รวมกันของประชากรทำให้เกิดการคมนาคมแลกเปลี่ยนค้าขายก่อให้เกิดการสร้างบ้านแปลงเมืองในระยะต่อมา
แหล่งน้ำที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในแถบนี้ นอกจากอาศัยน้ำจากบ่อน้ำโบราณบ่อพันขันแล้ว  รอบเมืองจำปาขันยังมีการจัดการน้ำเป็นระบบคันคูรอบเมือง   อีกส่วนหนึ่งความเป็นบ่อพันขันจึงนับว่ามีความสัมพันธ์ต่อชุมชน ในหน้าแล้งพื้นที่แห่งนี้ใช้เป็นสนามการค้าในอนุภูมิภาค แต่พอฤดูฝนหลังการทำเกลือได้อาศัยน้ำเพื่อการอุปโภค และเป็นแหล่งจับสัตว์น้ำ พืชผักจากอดีตจนปัจจุบัน ที่สำคัญพื้นที่อ่างเก็บน้ำบ่อพันขันยังเป็นพื้นที่แห่งความเชื่อที่นำมาสู่สนามแข่งเรือบวงสรวงเจ้าพ่อบ่อพันขันอีกด้านหนึ่งด้วย  ซึ่งลักษณะการแข่งขันในรูปแบบเดียวกันนี้มีในเขตแถบหมู่บ้านสว่าง   บ้านเมืองบัว  รัตนบุรี  พนมไพร ท่าตูม อีกด้วย

ที่ตั่งและประวัติโดยย่อ บ่อพันขัน

ที่ตั่งและประวัติโดยย่อ บ่อพันขัน




ที่ตั่ง บ่อพันขัน

    ตั้งอยู่ในเขตตำบลเด่นราษฎร์ กิ่งอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณทางด้านตะวันออก ของห้วยเค็มประมาณ100 เมตร ลักษณะทางกายภาพเป็นลานหินทรายแดงกว้างใหญ่ในพื้นที่ ประมาณ1กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บริเวณห้วยเค็มทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก โดยทางฝั่งตะวันตกเป็นพื้นที่ตำบลจำปาขัน อ.สุวรรณภูมิ ส่วนฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่ของ  ต.เด่นราษฎร์ กิ่งอำเภอหนองฮี
    โดยพื้นที่ทั้งสองฝั่งยังมีแนวหินทรายต่อเนื่องขึ้นไปอีกบางส่วนจมอยู่ใต้ดิน แนวลำน้ำเค็มจากบ่อพันขัน ไปถึงลำน้ำเสียวประมาณ 2กิโลเมตร ในฤดูน้ำหลากพื้นที่บริเวณบ่อพันขันบางส่วนมักจมอยู่ใต้พื้นน้ำแต่ในฤดูแล้ง พื้นที่บริเวณบ่อพันขันจะปรากฏแนวพื้นหินทรายกว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ บริเวณกว้าง โดยมักจะมีร่องรอย ของความเค็มของดินปรากฏโดยทั่วไป ลักษณะเป็นสีขาวของเกลือ และราษฎรในบริเวณนี้มักจะใช้เป็นสถานที่ ผลิตเกลือสินเธาว์ ต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุ เป็นทั้งผลผลิตที่ใช้บริโภคในหมู่บ้านใกล้เคียง และเป็นสินค้าออกไปยังจังหวัดใกล้เคียง เช่น ศรีษะเกศ สุรินทร์ อุบลราชธานี เป็นต้น โดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ผลิต คือ บ่อพันขันนั่นเอง ในบริเวณบ่อพันขันปรากฏพื้นที่ลักษณะพิเศษ คือมีบ่อน้ำจืดธรรมชาติ ที่มีน้ำพุดขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีวันหยุด มีขนาดกว้างประมาณ 6-8 นิ้ว ลึก 6-8 นิ้ว จึงเป็นที่มาของ บ่อพันขัน  ชาวบ้านเรียกอีกอย่างว่า “น้ำสร่างครก” เพราะมีลักษณะคล้ายครกตำข้าว 
            น้ำบริเวณบ่อพันขัน ไม่มีใครรู้ว่ามันเริ่มไหลออกมาเมื่อใด และจะหยุดไหลเมื่อใด อาจจะเป็นเรื่องของระบบน้ำใต้ดิน ที่ไหลซึมอกมาตลอดเวลาตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ในความเชื่อ ของชาวบ้านในเรื่องความอัศจรรย์และความศักดิ์สิทธิ์ นับเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในดินแดนแห่งทุ่งกุลาร้องไห้ ที่จริงๆ ไม่เคยร้องไห้ เพราะความอุดมสมบูรณ์  ของพื้นที่ เพียงเราจะจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนเท่านั้น แต่สิ่งที่ปรากฏและยังอยู่ในความทรงจำ ของผู้คนบริเวณนี้คือ การเป็นพื้นที่แหล่งต้มเกลือสินเธาว์ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน โดยพื้นที่รอบๆ มีแต่ความเค็มของเกลือในฤดูแล้ง แต่มีพื้นที่เพียงจุดเล็กๆ ที่มีน้ำจืดไหลออกมาตลอดเวลา ตักเป็นพันขันก็ไม่หมด ท่ามกลางพื้นที่ ที่มีแต่ความเค็มตลอดฤดูแล้ง นับตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ จนถึงเดือน พฤษภาคม ของทุกปี
    พื้นที่ บริเวณนี้จมอยู่ใต้น้ำมากว่า 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2524 พอในปี 2547 ชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมแรงรวมใจกัน ฟื้นฟูสภาพของบ่อพันขัน ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง และคงอยู่กับจังหวัดร้อยเอ็ดตลอดไป